การสอบเทียบเครื่องมือวัดสำคัญต่อ ‘มาตรฐาน’ ในอุตสาหกรรมอย่างไร

36162 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การสอบเทียบเครื่องมือวัดสำคัญต่อ ‘มาตรฐาน’ ในอุตสาหกรรมอย่างไร

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิต เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยรักษาความถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำให้กับเครื่องมือวัดตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่เหมาะสม ควรสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิต เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยรักษาความถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำให้กับเครื่องมือวัดตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่เหมาะสม ควรสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025

โรงงานอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานก่อนนำออกจำหน่าย เมื่อภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ สั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะได้รับรองผลการตรวจสอบ (inspection certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (calibration certificate) เครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดยในใบรับรองผลการตรวจสอบ หรือผลการสอบเทียบจะระบุคุณสมบัติเฉพาะต่าง ๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) ค่าความละเอียด (resolution) ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น

เมื่อเครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งานอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีความคลาดเคลื่อนของผลการวัด อาจเกิดจากการ Drift หรือ การลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) หมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาเครื่องมือวัด เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัดยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษา ดังนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือ ค่าการวัดของเครื่องมือที่เคยมีความถูกต้องเที่ยงตรง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ หรือ หากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้งานในกระบวนการผลิตก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการออกแบบและกระบวนการผลิต

การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด (Drift) ไม่สามารถกำจัดได้ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่เป็นสิ่งสามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้ผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบ ให้กับเครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต

องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือเครื่องมือวัดอ้างอิง (reference standards equipment) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory) บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการสอบเทียบ (personnel) และวิธีการสอบเทียบ (method)

การทำ Calibration มี 2 วิธี

  1. ทำเองภายในบริษัท
  2. ส่งไปทำที่ภายนอกบริษัท ตามศูนย์สอบเทียบต่างๆ


ทั้งสองวิธีต้องมีคำนึงถึง การสอบกลับได้ (Traceability) และความไม่แน่นอนในการวัด (Measurement Uncertainty) จึงจะเกิดประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง

ความถูกต้อง/เที่ยงตรงของเครื่องวัดฯ มีผลต่อคุณภาพและต้นทุนการผลิตสินค้า ดังนั้น Calibration หรือการสอบเทียบจึงต้องมีกฎเกณฑ์ ดังนี้:

  1. จะต้องปฏิบัติและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
  2. ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้เรื่อง Calibration
  3. รู้ Accuracy และวัตถุประสงค์ของเครื่องมือวัด
  4. ต้องมีเครื่องมือมาตรฐานที่ดีพอ (ดีกว่า 3 - 10 เท่า)
  5. ต้องมี Traceability (การสอบกลับได้)
  6. ต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน


บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบจาก Intro Group

นอกจากเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐานสูงจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกจาก LLOYD และ Chatillon อย่างเป็นทางการในประเทศไทยแล้ว Intro Group มีศูนย์ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)

Intro Group ให้บริการสอบเทียบครอบคลุม 12 สาขาการวัด (Scope of Calibration Service)

  1. สาขาบริการสอบเทียบแรง (Force calibration services)
  2. สาขาบริการสอบเทียบแรงบิด (Torque & torsion calibration services)
  3. สาขาบริการสอบเทียบด้านมิติและความยาว (Dimension & Length calibration services)
  4. สาขาบริการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักและเครื่องชั่ง (Masses & Balances calibration services)
  5. สาขาบริการสอบเทียบเครื่องชั่งอุตสาหกรรม (Industrial Scales calibration services)
  6. สาขาบริการสอบเทียบปริมาตรและการไหล (Volume & Flow calibration services)
  7. สาขาบริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & humidity calibration services)
  8. สาขาบริการสอบเทียบด้านไฟฟ้าและความต่างศักย์ (Electrical & voltage ratio calibration services)
  9. สาขาบริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ (Pressure & vacuum calibration services)
  10. สาขาบริการสอบเทียบความแข็ง (Hardness calibration services)
  11. สาขาบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบพลาสติกและยาง (Plastic & rubber tester calibration services)
  12. สาขาบริการสอบเทียบเคมีและความหนืด (Chemical & viscosity calibration services)


เป็นที่รู้กันว่า เป้าหมายสำคัญของการสอบเทียบก็คือ เพื่อลดความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในการวัดโดยการรับรองความถูกต้องของอุปกรณ์ทดสอบ การสอบเทียบจะคอยเป็นตัววัดปริมาณ กำกับและควบคุมข้อผิดพลาดหรือความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการวัดให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน

ดังนั้น สำหรับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ‘มาตรฐาน’ คือการสอบเทียบทุกปี เมื่อคุณได้รับผลลัพธ์จากการสอบเทียบก็จะสามารถปรับความถี่ของการสอบเทียบได้และ / หรืออัปเกรดเป็นเครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากจำเป็น

โดยสรุปแล้วการสอบเทียบมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกที่ที่การวัดมีความสำคัญ ช่วยให้ผู้ใช้งานและธุรกิจเกิดความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ตรวจสอบบันทึกและควบคุมได้ในภายหลัง

Intro Group “เป็นธุระเอาใจใส่พร้อมให้บริการ”

การทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องมีการเอาใจใส่ในรายละเอียดที่มีความซับซ้อนอย่างมาก Intro Group ซึ่งเป็นตัวแทน LLOYD และ Chatillon อย่างเป็นทางการในประเทศไทย แตกต่างจากผู้จัดจำหน่ายรายอื่น เพราะให้ความสำคัญกับ ‘การบริการก่อนการขาย’ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบริการหลังการขาย

เจ้าหน้าที่เทคนิคผู้มีความชำนาญจะสอบถามความต้องการแบบลงลึก พร้อมตอบข้อสงสัย และอธิบายรายละเอียดด้านเทคนิคการใช้งาน จนถึงขั้นเสนอราคาเครื่องมือทดสอบพร้อมอุปกรณ์ประกอบรุ่นที่ตรงกับความต้องการและลักษณะการใช้งานของลูกค้าให้มากที่สุด โดยลูกค้าสามารถนำผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้กับเครื่องตัวอย่างที่ศูนย์บริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ความใส่ใจเหล่านี้เองที่ทำให้ Intro Group อยู่เคียงข้างและคอยให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดมานานกว่า 30 ปี เรียกว่า ‘ครบ’ จบทุกรายละเอียดที่ลูกค้าต้องการ นอกเหนือจากเรื่องของความแข็งแกร่งทนทานนานปีจากเครื่องทดสอบมาตรฐานอเมริกาที่มีอายุการใช้งานนานเกิน 10 ปีแล้ว สิ่งที่จะทดสอบและเป็นเครื่องวัดมาตรฐานในผลงานมาตรฐานก็คือการบริการด้วยความใส่ใจนั่นเอง สมกับคำขวัญประจำบริษัทที่ว่า ‘เป็นธุระ เอาใจใส่ พร้อมให้บริการ’


ถ้าเครื่องวัดของคุณอายุเกิน 8 ปีและเริ่มไม่น่าไว้วางใจลองติดต่อ Intro Group

INTRO ENTERPRISE
โทรศัพท์: 0-2363-4417-21, 08-1820-6873
Email: visava@intro.co.th, info@intro.co.th
Website: www.intro.co.th

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้